การศึกษาในประเทศเยอรมนี
โดยสำนักคณิตศาสตร์ครูพี่ก้อ สอนพิเศษสงขลา
นักเรียน 25% เท่านั้นที่เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยฯ อีก 75% ไปเรียนสายอาชีพ
(ซึ่งต่างจากบ้าเราชัดเจน ซึ่งผมพูดให้น้องๆ ฟังอยู่เสมอว่าประเทศที่พัฒนาแล้วเขาต้องการแรงงานสายอาชีพมากกว่าสายสามัญ แต่สังคมเรายึดติดกับใบปริญญาและสังคมเรามีค่านิยมว่าถ้าใครเรียนสายอาชีพคือคนที่เรียนไม่เก่ง อันธพาล นิสัยไม่ดี)
สายอาชีพก็มีหลายแบบ มีสายอาชีพที่เหมือนๆกับ ปวช. บ้านเรา , สายอาชีพวุฒิ ป.ตรี หรือสายอาชีพที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญแต่ไม่จำเป็นต้องมีวุฒิ เช่น ตัดผม เป็นต้น
งานของผู้ที่จบสายอาชีพบางงานทำแค่ 4 ชม. ได้ค่าแรงเท่ากับคนนั่งทำงานออฟฟิศ 2 วัน
ประเทศเยอรมนีถือว่า "การศึกษา" เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องจัดให้คุณ ถ้าคุณมีศักยภาพพอที่จะเรียน (ถ้าคุณสอบเข้าได้ ถ้าคุณเรียนได้) ซึ่งเราสามรถเห็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมได้จากนโยบายด้านการศึกษาของประเทศเยอรมนีที่ปฏิบัติได้จริงๆ เช่น
เรียนฟรี (ฟรีจริงๆ) จนจบ ป.ตรี และรัฐยังให้เงินช่วยเหลือให้กับครอบครัวที่ยากไร้แถมให้ด้วย
หรือในกรณีของค่าเทอมในระดับ ป.โท ,ป.เอก ถือว่าถูกมากๆๆๆ ซึ่งเทอมล่าสุดเพื่อนนักเรียนทุนโครงการ พสวท. ของผมจ่ายค่าเทอม ป.เอก ไปแค่ประมาณ 10,000 บาท ต่อเทอมเท่านั้น
ซึ่งเงิน10,000 บาทนี้ ไม่ใช่เป็นแค่เพียงค่าเทอม ยังรวมไปถึงค่าสวัสดิการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น เข้าฟิตเน็ตฟรี ใช้สระว่ายน้ำฟรี เป็นต้น และที่น่าทึ่งไปกว่านั้น รวมไปถึงสวัสดิการด้านการคมนาคม ขึ้นรถไฟ รถเมล์ รถราง ฟรี ในระยะทางใกล้ ๆ เพียงแค่แสดงบัตรนักศึกษาเท่านั้น ( ถ้ายกตัวอย่างให้เห็นภาพชัด เช่น เดินทางฟรีในอาณาเขตสงขลา หาดใหญ่ )
นี่คือเหตุผลหนึ่ง ที่นักศึกษาต่างชาติ หรือนักเรียนทุนของไทยถึงสนใจที่จะมาเรียนในเยอรมัน เพราะค่าใช้จ่ายมันจะเพียงพอสำหรับเงินทุนที่ในแต่ละมหาลัยฯ หรือแต่ละหน่วยงาน ให้สนับสนุนส่งคนมาเรียน
นอกจากนั้นในระดับ ป.เอก ถ้าผู้เรียนมีครอบครัว มีลูก รัฐยังให้เงินสนับสนุนด้วย เพราะเขาถือว่าการเรียน ป.เอก คือการทำงานให้มหาลัยด้วย (งานวิจัย) และในกรณีนี้หอพักของมหาลัยจะมีจัดไว้สำหรับผู้ที่มีครอบครัวโดยเฉพาะ
(มันเลยเริ่มหาเรื่องชวนผมเรียนต่อ5555)
ใครที่มีความฝันอยากเรียนต่อต่างประเทศผมแนะนำให้ลองศึกษาประเทศนี้ให้ดีๆนะครับ สังคมน่าอยู่ วัฒนธรรมคนที่นี่ยอดเยี่ยมมากครับ (ไว้จะเล่าต่อ)
ในภาพเป็นห้องสมุดของมหาวิทยาลัยไฮเดนแบก ซึ่งเป็นมหาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของเยอรมัน ตั้งมาตั้งแต่สมัยอยุธยาของบ้านเรา และก็ห้องสมุดเขาไม่หวง ไม่เก็บตังค์แม้แต่บาทเดียวแม้จะเป็นคนนอกเข้าไปใช้ ซึ่งต่างจากมหาลัยในบ้านเราแค่จะขอเข้าไปฉี่บางทีก็ไม่ให้เข้า ยังไงก็ต้องเสียตังค์ค่าเข้า 20 บาทเล๊ยยย5555
และก็มหาลัยเก่าแก่ของที่นี่ไม่ได้มีลักษณะเป็นรั้วกั้นอาณาเขตที่ชัดเจน แต่มันมีลักษณะที่อยู่ในละแวกเมือง มีบ้านคนปนอยู่กับอาคารที่เป็นของมหาลัย อย่างผมเพิ่งเคยไปจะไม่รู้เลยว่าอาคารไหนเป็นบ้านคน อาคารไหนเป็นของมหาลัย เพราะผมอ่านภาษาเยอรมันไม่ออก 5555
นอกเหนือจากเรื่องการศึกษาที่ผมได้เล่าไป เมืองไฮเดนแบกยังมีความสำคัญส่วนหนึ่งเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทยเราด้วยนะครับ เพราะในหลวงรัชกาลที่ 8 ของเราประสูติที่เมืองไฮเดนแบกนี่ด้วยนะครับผม
ผมใส่รูปบรรยากาศของเมืองไฮเดนแบก และใส่รูป เพื่อน ๆ พี่ ๆ นักเรียนทุนโครงการ พสวท. ที่ไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศเยอรมันมาให้ชมด้วยนะครับ (มีรูปหอพักเพื่อนที่ผมไปพักด้วย ซึ่งเป็นหอพักของมหาลัยฯ ให้ชมด้วยครับ)
ส่วนภาพห้อง lab และอาคารเรียน (วิจัย) เป็นตึกชีวะของมหาวิทยาลัยโคโลญ ที่เมืองโคโลญ(คนเยอรมันออกเสียง "เคิน") ที่เพื่อนผมต้องทำงาน (เรียนปริญญาเอก) โชคดีที่วันนั้นเพื่อนผมต้องแวะเข้ามาเอาของที่ ผมเลยถือโอกาสให้เพื่อนพาดู lab และ office ห้องพักของนักศึกษา ป.โท , ป.เอก ของที่นี่ด้วยเลย
labที่นี่เพื่อนผมยืนยันว่าในไทยไม่มีให้ทำ ไม่มีอุปกรณ์ ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนสร้างไว้ เช่น ห้อง green house ควบคุมระดับแสง อุณหภูมิ เป็นต้น
ชมคลิปวีดีโอแนะนำ lab ของที่นี่ได้ที่
งานนี้ต้องขอขอบคุณการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากเพื่อน ๆ และ พี่ ๆ ที่เยอรมันทุกท่าน
และขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการศึกษาในเยอรมัน รวมทั้งเรื่องเล่า ประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ในเยอรมันที่นำมาเล่าให้ผมฟัง จนเกิดเป็นบทความชิ้นนี้เพื่อให้น้อง ๆ นักเรียนได้เปิดโลกทัศน์ และสร้างแรงบันดาลใจในภายภาคหน้าต่อไป
ขอขอบคุณแทนเด็ก ๆ ด้วยครับ
- - - - - - -
ปรับปรุงแก้ไข 23 มิ.ย. 2018 สงขลา , ไทย
-- - - - - - -
Math Makes Sense by Tutor Khor
สอนคณิตศาสตร์โดยอดีตนักเรียนทุนโครงการ พสวท. สาขาคณิตศาสตร์ ระดับท็อปของภาคใต้
( สอนสด + ออนไลน์ )
Tel : 086 – 8826648 ,083 - 6595136
View the embedded image gallery online at:
https://tutorkhor.com/index.php/blog/item/416-2018-06-28-01-48-53#sigFreeIda4abf11ae5
https://tutorkhor.com/index.php/blog/item/416-2018-06-28-01-48-53#sigFreeIda4abf11ae5